Page 93 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 93

5-12



               เมื่อจําเป็น

               5.10 ข้อควรระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย
                      5.10.1 ห้าม ลาก จูง ดัน ให้รถเกลี่ยติดเครื่องยนต์ ควรใช้สายพ่วง    พ่วงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ของ

               รถคันอื่น (24 โวลท์ ขั้วบวกเข้าเครื่อง ขั้วลบลงดิน)

                        5.10.2 จะลากจูงรถเกลี่ยที่เสียหรือชํารุด ให้ลากได้ไม่ไกลเกินกว่า 400 หลา  (365 เมตร) โดยต้อง

               ตัดห้ามล้อจอดออกก่อนด้วยการถอดสลักก้านของ ROTOCHAMBER (ห้องกลไกสําหรับห้ามล้อจอด)

               รถเกลี่ย CAT.12G ห้ามล้อจอดจะอยู่ที่ชุดคลัตช์หมายเลข 7 ในตําแหน่งเข้าห้ามล้อจอดสปริงใน
               ROTOCHAMBER จะดันแกนให้ยืดออก ทําให้ขาต่อที่เข้าไปยังชุดคลัตช์หมายเลข 7 ดันลูกสูบให้ลูกสูบดัน

               แผ่นจานให้ติดกับเรือนของห้องเฟืองเปลี่ยนความเร็ว และเมื่อจะปลดห้ามล้อจอดก็ผลักคันห้ามล้อจอดลง

               ให้สุดลมอัดจะไปดันลูกสูบให้ไปดันสปริงให้หดเข้าขาต่อจะดันลูกสูบถอย (แกนจะหดเข้า) ทําให้แผ่นกดกับ

               แผ่นคลัตช์จาก ทําให้แผ่นจานหมุน ซึ่งจะเป็นการปลดห้ามล้อจอดด้วยการใช้แรงดันของลมอัดนั่นเอง
                        5.10.3 จอดรถให้ได้ระดับทุกครั้ง และวางอุปกรณ์ลงบนพื้นหรือหมอนไม้ ก่อนทําการปรนนิบัติ

               บํารุง และให้การหล่อลื่น ทุกครั้ง เข้าห้ามล้อจอดทุกครั้งเมื่อจอดรถ อย่ากระโดดลงจากรถ ให้ใช้บันไดและ

               หูจับ ใช้ความเร็วรถให้เหมาะสมกับสภาพของงาน อย่าให้บุคคลอื่นเกาะห้อยโหนตัวรถ พลประจําแน่ใจ

               ตัวเองว่าจะไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายขณะเคลื่อนที่รถ ปฏิบัติตามกฏจราจรอย่างถูกต้อง และเคร่งครัด
               ใช้ความระมัดระวังเมื่อถึงทางแยก ลงเนิน พื้นที่ขรุขระ มีร่องหลุม และสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อย่านํารถออก

               ทํางานบริเวณขอบบ่อ หลุม ริมถนนฯลฯที่อาจทําให้ตัวรถทรุดตกลงไปได้ เมื่อจะทําการเลี้ยวกลางลําตัว

               หรือหมุนวงกลมใบมีด ต้องระวังอย่าให้ใบมีดถูกยางชํารุดเสียหายได้ เมื่อเลื่อนใบมีดทางข้าง ต้องระวังอย่า

               ให้โดนยางชํารุดเสียหายได้ ให้เข้าห้ามล้อจอด หรือห้ามล้อฉุกเฉิน จะใช้ในกรณีสําหรับหยุดรถทันทีทันใด

               ล้อสี่ล้อหลังจะหยุดหมุนทันที (ล้อจะลื่นไถล) ห้ามล้อจอดหรือห้ามล้อฉุกเฉินจะไม่สามารถปลดได้ ถ้ากําลัง
               ดันลมตํ่ากว่าปกติ (ประมาณ 60 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ 415 กิโลปาสคาล)(1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว = 6.89

               กิโลปาสคาล) หลอดไฟ (สีเหลือง) จะติดเมื่อไม่ได้เข้า DIFFERENTIAL LOCK และจะดับเมื่อเข้า

               DIFFERENTIAL LOCK ระวังเมื่อทําการเลี้ยวกลางลําตัว อย่าให้ใบมีดถูกยางได้ เมื่อจะถอยและเข้าสลักล็

               อกโครงเลื่อนวงกลมใบมีดไปทางซ้ายและขวา ต้องวางใบมีดลงบนพื้นดินให้ตั้งฉากกับตัวรถ ห้ามหมุน

               สวิตช์ เผาหัว - สตาร์ท ไปตําแหน่งเผาหัว เมื่ออุณหภูมิอากาศสูงกว่า (60 องศาฟาเรนไฮด์ หรือ 16 องศา
               เซลเซียส) เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ห้ามหมุนสวิตช์ เผาหัว - สตาร์ท ไปตําแหน่งสตาร์ท อย่าบิดสวิตช์ตัดต่อ

               วงจรไฟฟ้า ไปตําแหน่ง ปิด (OFF) ขณะเครื่องยนต์ติดอยู่ จะทําให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ หลอดไฟบอก

               สภาพความดันนํ้ามันเครื่องตํ่า การประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ กําลังดันลมอัดตํ่า และอุณหภูมิของนํ้าที่ใช้ระบาย
               ความร้อน จะติดเมื่อมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น ขณะทํางานควรปลด DIFFERENTIAL LOCK (ไฟเหลืองจะติด)

               ด้วยการผลักสวิตช์บน CONSOLE ไปข้างหน้า การเข้า DIFFERENTIAL LOCK ควรใช้ขณะใช้รถทํางานใน

               ทางตรง หรือต้องการใช้กําลังขับที่สี่ล้อมาก ๆ เท่านั้น  ให้สังเกตเครื่องวัดต่าง ๆ ประกอบกับไฟเตือนต่าง ๆ

               ด้วย เครื่องวัดต่าง ๆ เข็มจะชี้ที่ย่านสีเขียว ถ้าปกติ  ไฟเตือนของลมอัดที่ใช้กับห้ามล้อ   จะติดเมื่อมีกําลังดัน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98