Page 94 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 94

5-13



               ตํ่ากว่า  60  ปอนด์/ตารางนิ้ว (415 กิโลปาสคาล) และมีเสียงดังเตือนด้วย หลอดไฟเตือนต่าง ๆ อาจชํารุด

               หรือหลวมคลอนได้ ถ้าหลอดไฟ (สีแดง) แสดงความดันนํ้ามันเครื่องในห้องเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์
               ไม่ดับ (เมื่อเครื่องยนต์เริ่มติด) ภายในเวลา 6 วินาที ให้ดับเครื่องยนต์,ตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไข

               หมั่นตรวจสิ่งหลวมคลอน,สิ่งที่บกพร่องและชํารุดทั้งก่อน,ขณะหยุด และหลังการทํางาน เมื่อเครื่องยนต์ติด

               แล้ว อาจจําเป็นต้องบิดสวิตช์เผาหัว (HEAT) ไปตําแหน่ง "เผาหัว"  จนกระทั่งเครื่องยนต์เดินเรียบ ที่รอบตํ่า

               แล้วจึงปล่อยสวิตช์ ถ้าหากเครื่องยนต์ยังไม่ติดหลังจากบิดสวิตช์ไปตําแหน่ง ติดเครื่อง (START) นาน 10

               วินาที แล้วให้บิดสวิตช์เผาหัวไปตําแหน่งเผาหัว ประมาณ 30 วินาที จึงเริ่มติดเครื่องยนต์ใหม่ การติดเครื่อง
               โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากแหล่งอื่น (24 โวลท์) ต้องต่อขั้ว บวกกับบวก และลบกับลบ เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว

               ให้สังเกตและตรวจดูแผงเครื่องวัดต่าง ๆ อุ่นเครื่องยนต์ ประมาณ 3 ถึง 5 นาที  ก่อนนํารถออกใช้งานและ

               ดับเครื่องยนต์ (หลังใช้งาน) เข็มความดันนํ้ามันเครื่องจะต้องชี้ที่ย่านสีเขียว หลังจากเครื่องยนต์ติดภายใน

               ระยะเวลา 6  วินาที เข็มความดันนํ้ามันเชื้อเพลิงจะต้องอยู่ในย่านสีเขียว ถ้าความดันลมตํ่ากว่า 60 ปอนด์/
               ตารางนิ้ว (415 กิโลปาสคาล) จะมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้น ต้องหยุดตรวจสอบ ที่ตรวจสอบสภาพกรอง

               อากาศ ต้องขึ้นอยู่ในย่านสีเขียวเสมอ ห้ามขับเคลื่อนรถ โดยที่ความดันลมไม่อยู่ในย่านปกติ (สีเขียว) หรือ

               มีเสียงดังเตือน พื้นที่การทํางานต้องปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง รัดเข็มขัดนิรภัยเสมอ อย่าปล่อยเกียร์ว่างเมื่อ

               ขับรถลงลาดและอย่าเหยียบแป้นโมดูเลเตอร์ เมื่อรถลงเนินเขา ขณะรถวิ่งบนถนน ต้องรอให้ความเร็วลดลง
               ก่อนจึงลดเกียร์ตํ่า ต้องวางใบมีดลงกับพื้นก่อนจะปลด, เข้าสลักล็อกโครงเยื้องศูนย์วงกลม อย่าหักกลาง

               ลําตัวรถมากในขณะที่รถวิ่งขึ้นลาดชัน ห้ามเติมลมยางเกินกว่า 50 ปอนด์/ตารางนิ้ว

                 5.11 เทคนิคการทํางานของรถเกลี่ย CATERPILLAR 12 G

                      5.11.1 การเปลี่ยนตําแหน่งโครงเยื้องศูนย์วงกลมใบมีด

                              5.11.1.1 วางโครงของวงกลมใบมีดลงกับพื้น
                              5.11.1.2 ผลักคันบังคับสลักล็อกไปตําแหน่ง "ถอดสลัก"

                              5.11.1.3 ขยับคันบังคับใบมีดเพื่อให้สลักล็อกหลุด

                              5.11.1.4 ทําการเลื่อนโครงเยื้องศูนย์วงกลมใบมีดให้สลักตรงตําแหน่งที่ต้องการ

               (ตําแหน่งชี้บอก)

                              5.11.1.5 ผลักคันบังคับสลักล็อกกลับมาตําแหน่งล็อก
                              5.11.1.6 ขยับคันบังคับใบมีดทีละนิดเพื่อช่วย ให้สลักล็อกตรงรู เข้าล็อกจนสนิท

                      คําเตือน

                      ต้องวางโครงของวงกลมใบมีดลงพื้นก่อนที่จะเลื่อนสลักล็อกของโครงเยื้องศูนย์  ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน
               ไม่ให้ใบมีดแกว่ง
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99