Page 179 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 179
8-23
8.16 การติดเครื่องยนต◌์
8.16.1 การเตรียมการก่อนการติดเครื่องยนต์
8.16.1.1 เดินตรวจรอบตัวรถ ดูการติดตั้ง การผิดปกติของอุปกรณ์การรั่วไหลตามจุดต่าง ๆ
8.16.1.2 ตรวจระดับนํ้าในหม้อนํ้ารังผึ้ง และสภาพของหม้อนํ้า
8.16.1.3 ตรวจระดับนํ้ามันหล่อลื่นในห้องเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์
8.16.1.4 ตรวจระดับนํ้ามันไฮดรอลิก
8.16.1.5 ตรวจสภาพยางทุกเส้น โดยดูรอยฉีก, แตก, การสึกของดอกยางและตรวจความ
ดันลมในยางให้มีความดันลม (94 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
8.16.1.6 ปลดสลักยึดเท้าช้างออกทุกอัน
8.16.2 การติดเครื่องยนต์
8.16.2.1 คันบังคับเปลี่ยนทิศทาง และความเร็ว ต้องอยู่ในตําแหน่งว่าง เท่านั้น จึงจะ
สามารถติดเครื่องยนต์ได้
8.16.2.2 บิดสวิตช์ติดเครื่องยนต์ไปยังตําแหน่ง START (สตาร์ท) เพื่อติดเครื่องยนต์
8.16.2.3 ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาประมาณ 5 นาที
8.16.2.4 ตรวจเครื่องวัด และเครื่องชี้บอกต่าง ๆ จะต้องทํางานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เครื่องวัดความดันนํ้ามันหล่อลื่นในห้องเพลาข้อเหวี่ยง และเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า
8.17 การใช้รถปั้นจั่นปฏิบัติงาน
8.17.1 ก่อนนํารถปั้นจั่น ออกไปปฏิบัติงาน ควรจะต้องตรวจบริเวณรอบ ๆ ตัวรถว่ามีอะไรกีดขวาง
หรือไม่ อีกครั้งหนึ่ง
8.17.2 เมื่อนํารถปั้นจั่นถึงที่ปฏิบัติงาน จะต้องตรวจสอบพื้นที่ให้มีความแข็งพอที่จะสามารถยก
นํ้าหนักมาก ๆ ได้
8.17.3 จัดความเหมาะสมของตัวรถปั้นจั่นให้เข้ากับลักษณะงาน
8.17.4 เข้าห้ามล้อจอด และปลดคันบังคับเปลี่ยนทิศทางและความเร็วให้อยู่ในตําแหน่งว่าง
8.17.5 ดับเครื่องยนต์ส่วนล่าง (สวิตช์ดึงดับ) และหมุนสวิตช์ติดเครื่องยนต์มายังตําแหน่ง OFF
(ถ้าสวิตช์อยู่ในตําแหน่ง ON หลังจากดับเครื่องยนต์แล้ว กระแสไฟจะไม่สามารถจ่ายไปยังสวิตช์ติด
เครื่องยนต์ในห้องพลประจําได้)
8.17.6 ในห้องพลประจํารถปั้นจั่นควรทําดังนี้
8.17.6.1 ตรวจสอบตําแหน่งของคันบังคับต่าง ๆ ให้อยู่ในตําแหน่งว่าง
8.17.6.2 บิดสวิตช์ติดเครื่องยนต์ไปที่ตําแหน่ง ON
8.17.6.3 ตรวจสอบระบบไฟทั้งหมดชํารุดหรือไม่
8.17.6.4 ในการติดเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องยนต์ไม่ติดควรทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที จึงทําการ
ติดเครื่องยนต์ใหม่ ควรตั้งความ เร็วรอบของเครื่องยนต์ประมาณ 550 - 650 รอบ/นาที