Page 164 - เครื่องมือช่างชั้นต้น
P. 164
8-8
ตามความต้องการแล้วปล่อยคันบังคับจะอยู่ในตําแหน่งว่าง (คันปั้นจั่นหยุด) จังหวะที่ 2 ดึงคันบังคับเข้าหา
ตัวคันปั้นจั่นจะหดให้สั้นลง
8.9.3 แป้นห้ามล้อม้วนเชือกลวด รอง อยู่ส่วนล่างซ้ายสุด (ใช้เท้า) ทําหน้าที่เป็นแป้นห้ามล้อม้วนที่
ใช้กับคันปั้นจั่นส่วนต่อ (JIB) จะใช้กับเชือกลวดเส้นเดียว การทํางาน ในการทํางานจะสัมพันธ์กับคันบังคับ
หมายเลข (9) ในตําแหน่งเหยียบ จะเป็นการห้ามล้อ รอกขอจะหยุดอยู่กับที่ ตําแหน่งปล่อยเท้าออก รอกขอ
จะลงเองโดยนํ้าหนัก
8.9.4 แป้นห้ามล้อม้วนเชือกลวดหลัก อยู่ส่วนล่างซ้ายด้านในต่อจาก (8.9.3) ทําหน้าที่เป็นแป้น
ห้ามล้อม้วนหลักใช้กับขบวนรอกที่มีเชือกลวดตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป การทํางานเหมือนกับ ข้อ 8.9.3 ยกเว้น
ต้องใช้กับคันบังคับหมายเลข 8.9.10
8.9.5คันบังคับหมุนคันปั้นจั่น (สีแดง) อยู่ทางซ้ายมือสุดของพลประจํา ทําหน้าที่บังคับการหมุน
ของส่วนหมุน การทํางาน คันบังคับมี 3 ตําแหน่ง 2 จังหวะการทํางาน จังหวะแรก ดันไปข้างหน้าจะบังคับ
ให้ส่วนหมุน หมุนทางซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) ถ้าปล่อยคันบังคับการหมุนอยู่ในตําแหน่งตรงกลาง จะหยุด
จังหวะที่ 2 ดึงมาข้างหลังส่วนหมุนจะหมุนทางขวา (ตามเข็มนาฬิกา)
8.9.6 คันบังคับ ยก - ลด คันปั้นจั่น อยู่ทางด้านซ้าย ติดที่นั่งพลประจํา ทําหน้าที่บังคับคันปั้นจั่น
ให้ยกขึ้นหรือลดลง การทํางาน คันบังคับมี 3 ตําแหน่ง 2 จังหวะจังหวะแรก ดันไปข้างหน้าเป็นการลดคัน
ปั้นจั่นให้ตํ่าลง ถ้าปล่อยคันบังคับอยู่ในตําแหน่งตรงกลางจะหยุดการทํางานจังหวะที่ 2 ดึงไปข้างหลังเป็น
การยกคันปั้นจั่นให้สูงขึ้น
8.9.7 คันบังคับเปลี่ยนทิศทางและความเร็ว อยู่ทางด้านซ้ายมือของพลประจํา ทําหน้าที่บังคับให้รถ
เคลื่อนที่เดินหน้าหรือถอยหลังด้วยความเร็วตํ่าเท่านั้น การทํางานตําแหน่ง N คือ ตําแหน่งเกียร์ว่าง
เดินหน้า 3 ความเร็ว ถอยหลัง 3 ความเร็ว
8.9.7.1 วิธีการเข้าเกียร์
เดินหน้า ดัน จาก N 1 2 3
8.9.7.2 ทําให้ว่าง จาก 3 2 ดึงกลับได้เลย
2 1 ต้องกดปุ่มปลายคันบังคับเกียร์แล้วดึง
1 N
8.9.7.3 ถอยหลัง จาก N 1 ต้องกดแล้วดึง
จาก 1 2 3 ดึงได้เลย
8.9.7.4 ทําให้ว่าง จาก 3 2 ดัน
จาก 2 1 N ต้องกดแล้วดัน