Page 31 - Way&Airfield
P. 31

2-9

                      5.1 เมื่อตั้งกล้องวัดมุมที่จุด PC

                              5.1.1  ตั้งกล้องวัดมุมที่ PC เล็งกล้องไป PI ตั้งค่าจานองศาราบเท่ากับ 0° 00′ 00″

                              5.1.2  หมุนกล้องวัดมุมด้วยมุมองศาราบ d/2
                              5.1.3  วัดระยะจากจุด A ไปเป็นระยะ A-1 ตามแนวเล็ง A-1 จะได้จุด 1บนโค้ง

                              5.1.4  หมุนกล้องวัดมุมด้วยมุมองศาราบ  ( d/2 + D/2 )

                              5.1.5  วัดระยะจากจุด 1ไปเป็นระยะคอร์ดจากจุด 1 ถึงจุด 2 แกว่งเทปที่จุด

               ตัดกับแนวเล็ง A-2 จะได้    จุด 2
                              5.1.6  จุด 3,4 เช่นเดียวกับจุด 2 โดยมุมจะเพิ่มขึ้นอีกจุดละ D/2

                              5.1.7  จุด PT เพิ่มมุมเบี่ยงเบนจากแนวเล็ง A-4 อีก d/2

                              5.1.8  ตรวจสอบมุมเบี่ยงเบนจากเส้นสัมผัส AVไป PT ต้องเท่ากับ ∆/2


                      5.2 เมื่อตั้งกล้องวัดมุมที่จุดใดจุดหนึ่งบนโค้ง
                              5.2.1  สมมุติว่าหลังจากวางโค้งจากจุด A ถึงจุด 1 แล้ว มีสิ่งกีดขวางส่องแนว A-2 ไม่ได้

               ให้เลื่อนจุดจากจุด A ไปตั้งที่จุด 1 ซึ่งมองเห็นจุด PC จุด PT และจุดต่าง ๆ ตามแนวโค้ง

                              5.2.2  ส่องเล็งกลับไปจุด  A  ตั้งค่าจานองศาราบเท่ากับ 0° 00′ 00″  กระดกกล้องกลับ

               จะได้แนวเล็ง A-1

                              5.2.3  หมุนกล้องไปทางจุด 2 ให้อ่านค่าจากองศาราบได้เท่ากับมุม VA1  (มีค่าเท่ากับมุม
               เเรก = d/2 )  ลักษณะนี้จะเสมือนตั้งกล้องที่จุด A แล้วทํามุม VA1 (มีค่าเท่ากับมุมเเรก= d/2 )

                              5.2.4  ต่อไปการกําหนดจุด 2 ก็คือ  หมุนกล้องจนอ่านค่ามุมได้ d/2 + D/2     และระยะ

               คอร์ดจากจุด 1 ถึง 2 ตามแนวเล็ง 1 ไป 2

                              5.2.5  จุด 3,4 ก็ปฏิบัติตามทํานองเดียวกันกับจุด 2 โดยมุมจะเพิ่มขึ้นอีกจุดละ D/2
               ตัวอย่างที่ 2.3 การหาค่าต่าง ๆ ของการวางโค้งวงกลมด้วยวิธีเบี่ยงเบน

                      กําหนด ∆ = 24° 15′ 00″ และ  D = 10° 30′ 00″ จุด PI อยู่ที่ Sta. 37 + 932.967 ต้องการ

               ทราบความยาวของโค้งและข้อมูลสําหรับส่วนต่างๆ ของโค้งรวมทั้งค่ามุมเบี่ยงเบนและคอร์ดสําหรับส่วน

               โค้ง 25 เมตร

               วิธีทํา  (1)รัศมี            R  =  5729.58 / 10.5°        =  545.674    เมตร

                      (2)ระยะเส้นสัมผัส     T  =  R  tan (∆ / 2)

                                                =  545.674 tan (24° 15′/2)
                                                =  545.674x0.2148        =  117.211    เมตร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36