Page 477 - วิชายุทโธปกรณ์สายช่าง ชั้นนายพัน
P. 477

13-3



               หมายถึง ต้องการไม่มีสนิมหรือลายขรุขระใด ๆ ของยุทโธปกรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการปรนนิบัติบ ารุง ซึ่ง

               ชี้ให้เห็นถึง “ขวัญและวินัย” ของทหาร แต่อย่างไรก็ดีผู้บังคับบัญชา ควรระวังไม่เน้นมากเกินไปในเรื่อง ซึ่ง
               เราเรียกว่า “การเสริมสวย (COSMETICS)” ผู้บังคับบัญชาบางท่านอาจไม่มีความคุ้นเคยกับยุทโธปกรณ์

               ของตน และขาดความเชื่อมั่นในการตรวจสภาพ มักจะท าการตรวจแบบผ่าน ๆ ไปโดยถือเอารูปร่างลักษณะ

               ภายนอกของยุทโธปกรณ์เป็นมูลฐาน นอกจากนี้ในหลาย ๆ หน่วย การท าความสะอาด การพ่นสี

               ยุทโธปกรณ์และท าเครื่องหมายก็กินเวลา ซึ่งควรจะน าไปใช้ในการปรนนิบัติบ ารุงเสียมากกว่าในการตรวจ

               รูปลักษณะของยุทโธปกรณ์นั้น มักมีเหตุผลเพียงพอกับภารกิจของหน่วยไหน? เวลาและก าลังพลที่มีอยู่
               ตลอดจนสิ่งสกปรกต่าง ๆ (ฝุ่นผง, สนิมฯ) ที่เป็นอุปสรรคมีความสัมพันธ์กับการท างานของส่วนประกอบ

               ทางกล หรือทางไฟฟ้าหรือไม่ ในค าถามประการหลังนี้ ตัวอย่างของสภาพ ซึ่งจะท าให้เกิดผลต่อการท างาน

               ของยุทโธปกรณ์ เช่น ฝุ่นละอองติดตามกระจกหรือช่องมอง หน้าปัทม์หรือเครื่องวัดที่สกปรก ซึ่งท าให้ผู้ใช้

               อ่านได้ไม่ชัดเจน ตลอดจนไขข้นหรือน ้ามันที่เปื้อนเปรอะตามที่และจุดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง เช่น บนพื้นห้อง
               พลขับ หรือบนยาง เป็นต้น

               13.5 สิ่งชี้บอกแบบอื่น  ๆ

                      ผู้บังคับบัญชาไม่ควรท าการตรวจสิ่งซึ่งเป็นผลบั้นปลายของการซ่อมบ ารุง คือสภาพของ

               ยุทโธปกรณ์เท่านั้นแต่ควรตรวจการบริหารงานและการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการซ่อมบ ารุงในแง่มุมอื่น ๆ ด้วย
               เช่น การส่งก าลัง การเก็บรักษาคู่มือทางเทคนิคและการด าเนินงานของโรงงานซ่อม และเช่นเดียวกับ

               ยุทโธปกรณ์ก่อนการตรวจ   ซึ่งในตอนต่อไปนี้เป็นข้อแนะน าเกี่ยวกับการตรวจ โดยใช้สิ่งชี้บอกอื่น ๆ

                      13.5.1  ชิ้นส่วนอะไหล่ การมีเครื่องอะไหล่ไว้ตามอัตราที่ได้รับอนุมัติเป็นสิ่งมูลฐานที่บอกถึงสภาพ

               การซ่อมบ ารุงและประสิทธิภาพในการซ่อมบ ารุงของหน่วย เป็นการยากแก่ผู้บังคับบัญชาที่จะรู้ถึงเกณฑ์

               สะสมของหน่วยและรายละเอียดของหน่วย   และรายละเอียดโดยเฉพาะของชิ้นส่วนบางอย่าง ดังนั้น จึง
               ควรใช้วิธีเดียวกับยุทโธปกรณ์ คือ การสุ่มตัวอย่างก่อนท าการตรวจแต่ละครั้ง ผู้บังคับบัญชาอาจก าหนดจุด

               เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของชิ้นส่วน 1  หรือมากกว่า 1 ชิ้น และหน่วยมิได้รับอนุมัติให้มีเกณฑ์สะสม

               ชิ้นส่วนนั้นหรือไม่ และถ้าได้รับอนุมัติควรจะมีจ านวนเท่าใดผู้บังคับบัญชาควรทราบถึงกรรมวิธีในการเบิก

               ต่อจากนั้นจึงท าการตรวจชิ้นส่วน ซึ่งได้เลือกไว้ ถ้าชิ้นส่วนนั้นไม่มีจ านวนตามที่ได้รับอนุมัติ ผู้บังคับบัญชา

               อาจพิจารณาต่อไปว่ามีการเบิกถูกต้องและท าการเบิกตามระยะเวลาหรือไม่ ผู้บังคับบัญชาอาจมาย้อน
               ตรวจตามระบบการซ่อมบ ารุงและส่งก าลัง และจะเป็นการดีถ้าผู้บังคับบัญชาท าการตรวจรายงาน

               ยุทโธปกรณ์งดใช้งาน (DEADLINE REPORT) ของหน่วยและระยะเวลางดใช้งานส าหรับยุทโธปกรณ์ที่ขาด

               ชิ้นส่วนนั้น ๆ ด้วยพร้อมทั้งท าการสอบสวนการเบิกชิ้นส่วนที่ขาดนั้น ๆ ด้วย
   472   473   474   475   476   477   478   479   480   481   482