Page 38 - Way&Airfield
P. 38

3-3

               2. ระยะการไต่ลาดชันวิกฤต             (Critical  length  of  grade)

                      ระยะการไต่ลาดชันวิกฤต คือ ความยาวของการขึ้นลาดชันที่ออกแบบให้รถบรรทุกสามารถไต่ขึ้นได้

               โดยความเร็วไม่ลดลงมากเกินไป ซึ่งเป็นเหตุให้รถวิ่งช้ามาก และกีดขวางการจราจรประเภทอื่น     ในการขึ้น

               ที่ลาดชัน ความเร็วของรถบรรทุกขึ้นอยู่กับความลาดชันระยะทางที่ไต่ลาดชันนํ้าหนักต่อกําลังของรถบรรทุก
               ความเร็วก่อนการไต่ลาดชัน และความชํานาญของผู้ขับขี่ โดยทั่วไปการออกแบบจะพิจารณาถึง    ความเร็ว

               ของรถบรรทุก ให้ลดลงได้ไม่มากกว่า 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถึงปลายของลาดชัน เมื่อเทียบกับความเร็ว

               ก่อนการไต่ลาดชันสําหรับทางมาตรฐานสูงทั่วไป    ถ้าหากจําเป็นต้องใช้ลาดชันเกินกว่าระยะการไต่ลาดชัน
               วิกฤตและปริมาณรถมาก   จําเป็นต้องเพิ่มช่องทางวิ่งสําหรับรถบรรทุกที่วิ่งช้า ช่องทางวิ่งที่เพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า

               climbing lane สําหรับทางมาตรฐานตํ่ากว่าอาจย่อมให้ความเร็วลดลงมากขึ้น   เพื่อให้ได้ระยะลาดชันยาว

               ขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดค่างานตัด


               3.  ความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันสูงสุดกับความเร็วที่ใช้ออกแบบ
                      ในทางหลวงสายหลัก (Main highway) ความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันสูงสุดกับความเร็วที่ใช้

               ออกแบบ ได้แสดงไว้ในตาราง กรณีที่ระยะการไต่ลาดชันสั้นกว่า 150 เมตร ให้เพิ่มอีก 1% จากค่าที่แสดงไว้

               ในตาราง และกรณีของทางหลวงนอกเมือง  (rural highway)  ที่มีปริมาณการจราจรน้อย ให้เพิ่มความลาด

               ชันอีก 2% จากค่าที่แสดงไว้ในตาราง

                  ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันสูงสุดกับความเร็วที่ใช้ออกแบบ



                            ลักษณะภูมิประเทศ                       ความเร็วที่ใช้ออกแบบ กม./ชม.
                                                                  40       50       60       80       100

                   ที่ราบและลูกเนิน (flat $ rolling)              7%      6%      5%      4%      3%

                   ภูเขา (hill )                                  8%      7%      6%      5%      4%

                   ภูเขาสูง (mountainous)                        10%      9%      8%      7%      6%



               4.  โค้งทางดิ่ง   ( Vertical  Curve )
                      โค้งทางดิ่ง คือ โค้งที่ใช้เชื่อมความลาดชันสองลาดที่ต่อเนื่องกันเข้าด้วยกัน       เพื่อให้การเปลี่ยน

               ลาดชันค่อย ๆ เปลี่ยนสําหรับกรณีที่ความลาดชันติดกันแล้ว     ผลรวมทางพีชคณิตของความลาดชันทั้ง 2

               ไม่เกิน 0.3% ไม่จําเป็นต้องใช้โค้งทางดิ่ง ส่วนการวัดระยะทางในทางดิ่งนั้นให้วัดระยะทางไปตามระยะราบ


               (Horizontal projection)
                      โค้งทางดิ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

                      1. โค้งทางดิ่งหงาย  ( Sag Vertical Curve )

                      2. โค้งทางดิ่งควํ่า ( Crest Vertical Curve )
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43