Page 61 - ป้อมสนาม
P. 61

6-1



                                                          บทท 6
                                                                ี่
                                                  หลักการเครื่องกีดขวาง



               1. กล่าวน า
                      ไม่ว่าจะในการยุทธด้วยวิธีรุกหรือรับก็ตามการวางแผนทางการช่างจะต้องค านึงถึงเครื่องกีดขวาง

               เป็นกรณีแรกเครื่องกีดขวางแต่ละอย่างจะต้องถูกจัดวางให้ช่วยเสริมความแข็งแรงของภูมิประเทศ และเพิ่มขีด
               ความสามารถในการท าลายก าลังข้าศึกให้กับหน่วยด าเนินกลยุทธ  เครื่องกีดขวางทุกชนิดจะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็
               ต่อเมื่อ มีการยิงคุ้มครองจากอาวุธยิงตรงและอาวุธยิงจ าลอง การยิงสนับสนุนทางอากาศเชิงรุกที่วางแผนไว้ล่วงหน้า

                        นอกจากนี้ทุกหน่วยจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า เครื่องกีดขวางที่วางไว้จะต้องไม่ขัดขวางต่อการด าเนินกล
               ยุทธของฝ่ายเรา   ผู้บังคับหน่วยทหารด าเนินกลยุทธย่อมใช้ทั้งเครื่องกีดขวางที่มีอยู่เดิม และสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเสริม
               ความแข็งแรงให้กับภูมิประเทศ
                         เครื่องกีดขวางที่มีอยู่เดิม ได้แก่  เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หนองน้ า  ทางน้ า

               ทะเลสาบ  กระแสน้ าขึ้นลงที่ปากแม่น้ า  ป่าไม้  ภูเขา  คู  พื้นที่ในเมือง  บ่อดินตัด ดินถมเนินที่ลาดชัน เป็นต้น
               การตั้งรับย่อมอาศัยสิ่งเหล่านี้ การปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แทนที่จะสร้างขึ้นใหม่ ย่อมท าให้ประหยัดทั้งเวลา
               แรงงาน และวัสดุ   ทหารช่างจะท าให้เครื่องกีดขวางเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นตัวคูณอ านาจก าลังรบ

               ทหารช่างต้องรู้จักน าเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้ในแผนฉากขัดขวางได้
               2. ค าจ ากัดความ ค าว่า "เครื่องกีดขวาง"

                         เครื่องกีดขวาง คือ ลักษณะภูมิประเทศใด ๆ  สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัสดุใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น  (ไม่รวม
               อ านาจการยิง) เพื่อใช้รั้งเหนี่ยว หันเห หยุดยั้ง หรือแยกขบวนการเคลื่อนที่ของข้าศึกให้แยกออกจากกัน

                      2.1 เครื่องกีดขวาง แบ่งออกได้เป็น  2 ประเภท

                              2.1.1 เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ

                                     เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ คือ วัสดุหรือสภาพใด ๆที่มีอยู่เดิมซึ่งใช้รั้งหน่วง หันเห หรือ
               หยุดยั้งการเคลื่อนที่ของข้าศึกรวมทั้งวัตถุที่คนสร้างขึ้นซึ่งมิได้สร้างขึ้ใช้เป็นเครื่องกีดขวาง ตัวอย่างเครื่อง กีดขวาง
               ตามธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ า ล าธาร ฝนตกหนัก ห้วยหนอง บึง คลองชลประทานและก าแพงดินที่มีอยู่ เป็นต้น

                              2.1.2 เครื่องกีดขวางที่สร้างขึ้น

                                     เครื่องกีดขวางที่สร้างขึ้น ได้แก่ สะพานที่ซึ่งถูกท าลายแล้ว หลุมและบ่อระเบิดบนถนน
               ต้นไม้ล้ม  สนามทุ่นระเบิด   ป่าลวดหนาม   เครื่องปิดกั้นถนน คูดักรถถังหลุมพราง พื้นที่อาบพิษ การท าให้น้ าท่วม
               พื้นที่และโครงสร้างซึ่งท าด้วยไม้ซุง คอนกรีต และเหล็ก เป็นต้น

                      2.2 เครื่องกีดขวางแบ่งตามการใช้งานได้ 3 พวก คือ

                              2.2.1 เครื่องกีดขวางป้องกันตน  (Protective Obstacles)
                                     เครื่องกีดขวางป้องกันตน คือ เครื่องกีดขวางทั้งหลายที่ใช้เพื่อให้การระวังป้องกัน เครื่อง

               กีดขวางพวกนี้มักเป็นเครื่องกีดขวางที่เราสร้างขึ้น เช่น ลวดหนามป้องกันตนและกลไกเตือนภัยต่าง ๆ ซึ่งมุ่งหมาย
               ป้องกันมิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมจากพื้นที่ใกล้ ๆ ที่มั่นได้เป็นหลัก ส่วนมากใช้สร้างกับหน่วยระดับหมวด
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66