Page 41 - ป้อมสนาม
P. 41
3-5
7. การออกแบบเกี่ยวกับน้้าหนักและแรงเค้น
ค ากล่าวที่ว่า " มันขึ้นกับสถานการณ์ " นี้ย่อมใช้กับการสร้างที่พักก าบัง ที่ตั้งอาวุธ และคูที่มั่นเช่นเดียวกับ
ปัจจัยอื่น ๆ ของการสงคราม ทหารช่างจะต้องสามารถออกแบบที่ตั้งอาวุธหรือที่พักก าบังให้เหมาะกับความต้องการ
ของผู้อยู่ โดยใช้วัสดุแรงงาน เครื่องมือที่มีอยู่และจะต้องคิดถึงปริมาณการป้องกันพอสมเหตุสมผลมากกว่าที่จะให้
ป้องกันได้โดยสิ้นเชิง การป้องกันนั้นเราค านวณหรือคะเนเอาจากความสามารถของข้าศึก และกระสุนหรือลูก
ระเบิดที่อาจจะถูกการป้องกันโดยสิ้นเชิงมักเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และไม่เป็นสิ่งพึงปรารถนา เพราะเหตุว่าการป้องกันที่
ต้องการเพิ่มขึ้นมักท าให้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ตั้งนั้นลดลง หรือมักเปิดเผยที่ตั้งด้วย
การออกแบบอาจกระท าโดยผู้บังคับหมวดทหารช่างสนาม แต่มักกระท าในระดับกรมหรือกองพล เราจะ
กล่าวถึงน้ าหนักและแรงเค้นที่ย่อมให้ใช้ได้ ( Allowable Stress ) ในการออกแบบเพื่อท่านจะได้แนวทางความ
คิดถึงวิธีที่จะป้องกันโดยใช้สิ่งที่มีอยู่และส าเร็จรูปอยู่แล้วสิ่งแรกที่จะต้อง พิจารณาในการออกแบบโครงสร้างก็คือ
ระดับการป้องกัน
7.2 ระดับการป้องกันที่ต้องการ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้คือ
7.2.1 ป้องกันสะเก็ดระเบิด ( Splinterproof )
แบบนี้ใช้ป้องกันรังสีความร้อนโดยตรงจากอาวุธปรมาณู และสะเก็ดกระสุนปืนใหญ่ ใน
เมื่อกระสุนปืนใหญ่ระเบิดในระยะห่างโดยแรงระเบิดของกระสุนปืนใหญ่ไม่ท าลายต่อโครงสร้างโดยตรง
(3-6 ม.ส าหรับกระสุนปืนใหญ่ที่มิใช้กระสุนปรมาณู)ความหนาของเครื่องก าบังศีรษะแบบนี้ควรหนา 15-45 ซม.
7.2.2 ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาดเบา ( Light Shell proof )
แบบนี้ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาด 105 มม. ที่ใช้ชนวนไวซึ่งถูกที่
มั่นโดยตรง และป้องกันผลทั้งสิ้นอันเกิดจากอาวุธปรมาณูได้ในขีดจ ากัดความหนาของเครื่องก าบังศีรษะแบบนี้ควร
หนา 1.20-1.50 ม.
7.2.3 ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาดหนัก ( Heavy Shell proof )
แบบนี้ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาดใหญ่กว่า 105 มม. ซึ่งถูกโดยตรง ความหนาของ
เครื่องก าบังเหนือศีรษะซึ่งป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาดหนักนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดและแบบของกระสุนปืนใหญ่ ซึ่ง
จะสมมุติในการออกแบบ
น้ าหนักของเครื่องปกปิดที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเหล่านี้คิด 100 ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเป็น
น้ าหนักเฉลี่ยของดินแห้ง น้ าหนักของดินนี้เราพิจารณาเป็นน้ าหนักประจ าทั้งสิ้น (Dead Load)
น้ าหนักกระแทก ( Inpact lead ) บนโครงสร้างของเครื่องป้องกันสะเก็ดระเบิด เราคิดเท่ากับ 200 % -
ของน้ าหนักประจ า ตัวอย่าง เช่น โครงสร้างส าหรับเครื่องป้องกันแบบป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาดเบา มีดินปิด
หนา 1.20 ม.ย่อมมีน้ าหนักประจ า 400 ปอนด์ต่อตารางฟุตของพื้นที่หลังคา น้ าหนักกระแทก 800 ปอนด์ต่อ
ตารางฟุตของพื้นที่หลังคาดังนั้นน้ าหนักทั้งสิ้นที่ใช้ในการออกแบบเท่ากับ 1,200 ปอนด์ต่อตารางฟุต (400 + 800
ปอนด์ ต่อตารางฟุต) แรงเค้นในการออกแบบที่ย่อมให้ใช้ได้ส าหรับไม้มีอยู่ใน รส. 5 - 35 หน้า 390 ฉบับ
ก.ย.1952 ซึ่งมีดังนี้
แรงเค้นสูงสุดในการตัด 2,100 ปอนด์/ตร.นิ้ว ( Extreme fibrre stess in bending )
แรงอัดตั้งฉากกับเสี้ยนไม้ 500 ปอนด์/ตร.นิ้ว (Compression perpendicular to grain )
แรงอัดขนานกับเสี้ยนไม้ 1,600 ปอนด์/ตร.นิ้ว ( Compression parallel to grain )
แรงตัดขนานเสี้ยน 180 ปอนด์/ตร.นิ้ว ( Horizontal Shear )
( แรงเค้นข้างบนควรลดลง 30% ถ้าเป็นไม้สดหรือไม้เปียก )