Page 95 - การดาดผิว
P. 95
7-3
ในกรณีที่เห็นว่าวัสดุที่มีขนาดคละแตกต่างไปจากตารางที่7- 2 แต่เมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุผสมแทรกแล้วจะทำ
ให้แอสฟัลต์คอนกรีตที่มีคุณภาพดีขึ้นก็อาจอนุมัติให้ใช้วัสดุนั้นเป็นวัสดุผสมแทรกได้
ี่
1.2 แอสฟัลต์ในกรณีทไม่ได้ระบุชนิดของแอสฟัลต์ไว้เป็นอย่างอื่นให้ใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ AC 60 – 70
ตาม มอก. 851/2532
2 การใช้งาน
แอสฟัลต์คอนกรีตใช้ในงานก่อสร้างและงานบูรณะก่อสร้างทางดังต่อไปนี้
ื่
่
2.1 งานซ่อมผิวทาง (Patching) เพอซ่อมผิวถนนทางเดิมก่อนการกอสร้างผิวทางใหม่ทับ
ื่
2.2 งานปรับระดับ (Leveling) เพอปรับผิวถนนเดิมให้ได้ระดับตามที่ต้องการ
2.3 งานชั้นพื้นทาง (Base Course) โดยปูแอสฟัลต์คอนกรีตบนชั้นรองพื้นทาง (Subbase)หรือชั้นอื่นใด
ที่ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
2.4 งานชั้นรองผิวทาง (Binder Course) โดยปูแอสฟัลต์คอนกรีตบนชั้นพื้นทางที่ได้
เตรียมไว้เรียบร้อยแล้วหรือปูบนผิวทางเดิมที่จะบูรณะก่อสร้างใหม่
2.5 งานชั้นผิวทาง (Wearing Course) โดยปูแอสฟัลต์คอนกรีตบนชั้นรองผิวทางชั้นพื้นทางหรือชั้นอื่นใด
ที่ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
2.6 งานไหล่ทาง (Shoulder) ที่มีผิวไหล่ทางเป็นแอสฟัลต์คอนกรีตโดยปูแอสฟัลต์คอนกรีตบนไหล่ทาง
หรือชั้นอื่นใดที่ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
3 เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง
เครื่องจักรและเครื่องมือทุกชนิดที่จะนำมาใช้งานจะต้องมีสภาพใช้งานได้ดีโดยจะต้องผ่านการตรวจสอบ
และหรือตรวจปรับและนายช่างผู้ควบคุมงานอนุญาตให้ใช้ได้ในระหว่างการก่อสร้างผู้รับจ้างจะต้อง
บำรุงรักษาเครื่องจักรและเครื่องมือทุกชนิดให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
3.1 โรงงานผสมแอสฟัลต์คอนกรีต ( Asphalt Concrete Mixing Plant ) ผู้รับจ้างต้องมีโรงงานผสม
แอสฟัลต์คอนกรีตที่มีรายละเอียดดังนี้
- มีกำลังผลิต (Rated Capacity) ขนาด 60 – 80 ตันต่อชั่วโมงจำนวน 1 เครื่องหรือขนาด 40 – 60ตันต่อ
ชั่วโมง จำนวน 2 เครื่อง
่
- ตั้งอยู่ในสายทางที่กอสร้างหากจำเป็นอาจตั้งอยู่นอกสายทางภายในระยะขนส่งเฉลี่ย 80 กิโลเมตรหรือ
ตามที่เห็นชอบ
- จะเป็นแบบชุด (Batch Type) หรือแบบผสมต่อเนื่อง (Continuous Type) ก็ได้แต่ต้องสามารถผลิต
ส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตเพอป้อนเครื่องปู (Paver)ให้สามารถปูได้อย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนผสมที่มี
ื่
้
ุ
คุณภาพสม่ำเสมอตรงตามสูตรส่วนผสมเฉพาะงานโดยมีอณหภูมิถูกต้องตามขอกำหนดด้วย