Page 83 - การดาดผิว
P. 83
6 - 1
บทที่ 6
การออกแบบส่วนผสมโดยวิธีมาร์แชล
การออกแบบโดยวิธีมาร์แชล ใช้เป็นประโยชน์ในการออกแบบส่วนผสมของผิวแอสฟัลต์ ผสมด้วยเชื้อ
ประสานแอสฟัลต์ซีเมนต์
1. ขอบเขตของวิธีการ (Outline Of Method)
1.1 วิธีการของมาร์แชล เริ่มต้นด้วยการทดสอบทะลุทะลวงของตัวอย่าง สิ่งแรกที่ควรกำกับนี้คือ
1.1.1 ความประสงค์ของวัสดุที่จะใช้นั้นเป็นไปตามความต้องการของลักษณะของงานหรือไม่
1.1.2 ส่วนประกอบของมวลรวมคลุกเป็นไปตามลำดับขนาดที่ต้องการหรือไม่
1.1.3 วิธีมาร์แชลนั้นใช้สำหรับวิเคราะห์ความแน่นและช่องว่าง ความถ่วงจำเพาะของมวล
รวม ทั้งหมดที่ใช้คลุก และความถ่วงจำเพาะของแอสฟัลต์ซีเมนต์ ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาความต้องการเหล่านี้
เป็นเรื่องที่ต้องทำการทดสอบเป็นปกติ
1”
1.2 ชิ้นตัวอย่างที่ใช้สำหรับทดสอบโดยวิธีมาร์แชล มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4” หนา 2 / ตัวอย่างเหล่านี้
2
ู
ทำขึ้นจากวิธีการที่ถกต้อง และดีเกี่ยวกับการให้ความร้อน, การผสมและการบดอัดส่วนผสมของแอสฟัลต์และ
มวลรวม ลักษณะสำคัญของการออกแบบส่วนผสมโดยวิธีมาร์แชล 3 อย่าง คือ การวิเคราะห์ความแน่น
ช่องว่าง และการทดสอบความคงตัว และการไหลของชิ้นตัวอย่างที่ได้รับการ บดอัดแล้ว
2. คุณสมบัติของวิธีมาร์แชล (Marshall Mothod Properties)
วิธีมาร์แชลประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติ 5 ประการ จากชิ้นตัวอย่างซึ่งได้เตรียมไว้ ซึ่งมี
คุณสมบัติดังนี้
2.1 ความเสถียร (มั่นคง, คงทน, ความคงทนของชิ้นตัวอย่างคือ การต้านทานน้ำหนักที่สูงที่สุดเป็น
ปอนด์ การทดสอบที่ได้มาตรฐานจะกระทำในอุณหภูมิ 59.4 C (140 F) ดังจะอธิบายต่อไป
1
2.2 การไหล ค่าการไหล คือ ผลรวมของการเคลื่อนที่หรือดึงในหน่วย 0.0254 ซม. ( / นิ้ว) ในชิ้น
100
ตัวอย่างระหว่างไม่มีน้ำหนักและมีน้ำหนักสูงสุด
2.3 หน่วยน้ำหนัก คือ หน่วยน้ำหนักของชิ้นตัวอย่าง ซึ่งได้รับการบดอัดแล้วเป็นปอนด์/ลบ.ฟ. หน่วย
น้ำหนักหาได้โดยความถ่วงจำเพาะของชิ้นตัวอย่าง หารด้วยหน่วยน้ำหนักของน้ำ คือ 1 กรัมต่อ ลูกบาศก ์
เซนติเมตร (62.4 ปอนด์/ลบ.ฟ.)
2.4 เปอร์เซ็นต์ช่องว่างทั้งหมด คือ อัตราส่วนปริมาตรของช่องว่างในชิ้นตัวอย่างที่บดอัดแล้วกับ
ปริมาตรทั้งหมดของชิ้นตัวอย่าง และมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ จากความชำนาญพบว่า การบดทับที่สมบูรณ์ของการ
คาดผิวคอนกรีต จะต้องยอมให้มีช่องว่างของอากาศสำหรับในฤดูอากาศร้อน และสำหรับการบดอัดในอนาคต
ของการจราจร ถ้าไม่มีช่องว่างเผื่อไว้ดังกล่าวแล้ว แอสฟัลต์ก็จะ “เยิ้มออกมา” (Bleed) ข้างบน ซึ่ง
แอสฟัลต์เหล่านี้จะขึ้นมาอยู่บนผิว และก่อให้เกิดสภาพเรียบมัน (Slick Condition) และเป็นการลดความ
ต้านทานของผิวด้วย การลงผิวที่มีช่องว่างของอากาศเพียง 1% อาจทำให้มีการเยิ้มได้ ดังนั้นเปอร์เซ็นต์
ช่องว่างที่แนะนำคืออยู่ในระหว่าง 3-5% สำหรับชั้นผิว และ 4-6% สำหรับชั้นรองผิวที่ใช้สำหรับความดันลม
ยางต่ำ และ 5-7% สำหรับชั้นรองผิวที่ใช้สำหรับความดันลมยางสูง