Page 16 - แผนที่เข็มทิศ
P. 16
2 - 2
2.5.5 เส้นชั้นความสูงพอประมาณ ( APPROXIMATE CONTOUR ) คือ เส้นชั้นที่มี
ลักษณะ คล้ายเส้นชั้นความสูงทั่วไป แต่ไม่มีตัวเลขบอกความสูง เพราะไม่ สามารถเข้าไปส ารวจได้ จึง
ท าไว้พอประมาณเท่านั้น
3. การใช้เส้นชั้นความสูง ความสูงของจุดใดจุดหนึ่งอาจหาได้โดย.-
3.1 หาระยะอุธันดร ของแผนที่ จากรายละเอียดที่ขอบระหว่าง โดยบันทึกไว้ทั้งจ านวนและ
หน่วยในการวัด
3.2 หาตัวเลขที่เส้นชั้นความสูง (หรือความสูงที่ก าหนดไว้) ที่อยู่ใกล้กับจุดนั้นมากที่สุด ซึ่งจะ
น าไปหาความสูงของจุดที่ต้องการด้วย
3.3 หาทิศทางของลาด จากตัวเลขที่เส้นชั้นความสูง ไปยังจุดที่ต้องการ
3.4 นับจ านวนเส้นชั้นความสูง ที่อยู่ถัดไปจากเส้นชั้นความสูง ที่มีตัวเลขแสดงความสูง
จนถึงจุดที่ต้องการและจุดทิศทางขึ้นหรือลงไว้ จ านวนเส้นชั้นที่นับได้ คูณด้วยระยะอุธันดร จะเป็นระยะ
เหนือหรือต ่ากว่าค่าที่เริ่มนับ
3.4.1 ถ้าจุดที่ต้องการหานั้นอยู่บนเส้นชั้นความสูง แสดงว่าความสูงของจุดนั้นก็
เท่ากับเส้นชั้นความสูง
3.4.2 ส าหรับจุดที่อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูง ในทางทหารส่วนมาก ต้องการความถูก
ต้องพอประมาณ 1/2 ของระยะอุธันดรเท่านั้น จุดต่าง ๆ ที่น้อยกว่า 1/4 ของระยะระหว่างเส้นชั้นให้
พิจารณาเป็นความสูง 1/2 ของระยะอุธันดร เหนือเส้นชั้นที่อยู่ต ่ากว่า
รูปที่ 2.1 การประมาณความสูงระหว่างเส้นชั้นความสูง
40 ´ 40 ´
30 ´
20 ´ 20 ´
3.4.3 การประมาณความสูงของยอดเขา ที่ไม่มีความสูงบอกไว้ ให้เอาครึ่งหนึ่งของ
ระยะอุธันดร บวกเข้ากับความสูงของเส้นชั้นความสูง ที่อยู่สูงที่สุดที่ล้อมรอบยอดเขานั้น
3.4.4 การประมาณความสูงของจุดที่อยู่ต ่าสุดของที่ลุ่ม ให้เอาครึ่งหนึ่งของระยะ
อุธันดรกับค่าของเส้นชั้นความสูงที่อยู่ต ่าสุด ที่ล้อมรอบจุดที่อยู่ต ่าสุดของที่ลุ่ม