Page 15 - แผนที่เข็มทิศ
P. 15

2 - 1
                                                        บทที่ 2


                                               ความสูงและทรวดทรง


                                             ( ELEVATION AND RELIEF )

               1. กล่าวน า
                      ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับสัญลักษณ์  เส้นกริด  มาตราส่วน   ระยะทางและทิศทาง   ก็นับว่าเป็นการ

               เพียงพอแก่การก าหนดจุดสองจุด   การหาจุดที่ตั้ง   การวัดระยะระหว่างจุดสองจุดนั้น     การหาเวลาใน

               การ

               เดินทาง   ระหว่างจุดสองจุด   การหาที่หมายข้างหน้า   และการหาที่อยู่ของผู้ใช้แผนที่  แต่ถ้าผิวพิภพนั้นมี

               ภูเขา หุบเหว ไม่ราบเรียบ ไม่สม ่าเสมอ  ซึ่งเรียกว่า ความสูงและทรวงทรวง แล้วท่านจะต้องสามารถหา
               ความสูง และความแตกต่างในทางสูง  ของลักษณะภูมิประเทศทั้งหมดได้

               2. ด าเนินความ

                      2.1 พื้นหลักฐาน   ( DATUM PLANE ) พื้นหลักฐานคือ  หลักฐานอ้างอิงอันหนึ่ง  ซึ่งใช้วัดระยะ

               ความสูงในทางดิ่ง แผนที่ส่วนมากใช้ระดับน ้าทะเลปานกลาง  เป็นพื้นหลักฐาน

                      2.2 ความสูง   ( ELEVATION )  ความสูง คือ  ข้อก าหนดในทางสูง ( ระยะทางดิ่ง )   ของที่
               หมายที่อยู่เหนือหรือต ่ากว่าพื้นหลักฐาน

                      2.3 ทรวดทรง  ( RELIEF ) ทรวดทรง คือ ลักษณะรูปร่างและความสูงของผิวพิภพ

                              ความสูงของต าบลต่าง ๆ และทรวดทรงของพื้นที่หนึ่ง ๆ นั้น      กระทบกระเทือนต่อการ

               เคลื่อนที่และการใช้หน่วยต่าง ๆ โดยจ ากัดเส้นทางที่จะไป ความเร็วของการเคลื่อนที่ และความยากง่าย
               ของการเข้าตีหรือตั้งรับในพื้นที่แห่งนั้น

                      2.4 เส้นชั้นความสูง  ( CONTOUR LINES )  เส้นชั้นความสูง คือ เส้นที่ใช้แทนเส้นสมมุติบน

               พื้นดิน ซึ่งลากไปตาม ต าบลต่าง ๆ ซึ่งต าบลต่าง ๆ เหล่านั้นมีความสูงเท่ากัน

                      2.5 ชนิดของเส้นชั้นความสูง
                                 2.5.1 เส้นชั้นความสูงหลัก ( INDEX CONTOUR )  คือ เส้นชั้นที่เป็นเส้นหนาทึบ

               มากกว่าเส้นชั้นชนิดอื่น ๆ และจะมีตัวเลขก ากับไว้ด้วย

                                 2.5.2 เส้นชั้นความสูงรอง  ( INTERMEDIATE CONTOUR )  คือ เส้นชั้น 4 เส้น ที่
               อยู่ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลัก และเป็นเส้นชั้นที่ลากบางกว่า

                                 2.5.3 เส้นชั้นความสูงแทรก   ( SUPPLEMENTAL CONTOUR ) คือ เส้นชั้นที่ลาก

               เป็นเส้นประ  ระหว่างเส้นชั้นความสูงหลักกับเส้นชั้นแทรก หรือระหว่างเส้นชั้นแทรกข้างเคียง ซึ่งเส้นชั้น

               เหล่านั้นอยู่ห่าง ๆ กัน เนื่องจากเป็นที่ราบมาก

                                 2.5.4 เส้นชั้นความสูงแสดงที่ลุ่ม  ( DEPRESSION CONTOUR )  คือ เส้นชั้นที่มี
               ลักษณะคล้ายคลึงกับเส้นชั้นความสูงหลักและรอง  แต่เพิ่มขีดสั้น ๆ ให้ชี้ไปทางลาดลง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20