Page 56 - คอนกรีต
P. 56
2-27
พื้นชั้นล่างของอาคาร แล้วคูณด้วยต้นทุนต่อหน่วย ปริมาตรของ
สิ่งก่อสร้างประเภทนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น ตึกแถว 3 ชั้น ขนาดหกคูหาๆ ละ 4 x 10 ตร.เมตร
มีความสูงของตึกเท่ากับ 10.5 เมตร
ดังนั้นปริมาตรของตึกแถว = 6 x 4 x 10 x 10.5
= 2,520 ลบ.เมตร
ถ้าต้นทุนต่อ ลบ.เมตร ของตึกแถว = 750 บาท
จะได้ต้นทุนค่าก่อสร้างตึกแถว = 2,520 x 750
บาท = 1,890,000 บาท
จากหลักการของการประมาณแบบนี้ จะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างประเภท
เดียวกัน ถึงแม้จะมีพื้นที่ใช้สอยเท่ากัน แต่หากมีความสูงต่างกัน ต้นทุนย่อม
ต่างกันนับว่าเหมาะสมส าหรับอาคารที่ ภายในโล่ง เช่น โรงงาน โรงอาหาร
หอประชุม แต่อาจคลาดเคลื่อนส าหรับอาคารที่มีผนังกั้นมาก
อนึ่ง ในการหาปริมาตรของสิ่งก่อสร้าง ควรใช้มาตรฐานอันเดียวกัน
จึงจะท าให้ค่าที่หาได้มีความแม่นย าสูงขึ้น โดยทั่วไปใช้มาตรฐานดังนี้.-
ปริมาตรของสิ่งก่อสร้างเท่ากับเนื้อที่ที่ล้อมรอบด้วยผนังด้าน
นอก คูณด้วยความสูงจากระดับที่อยู่ต่ ากว่าระดับพื้นชั้นล่าง 15 ซม. ถึง
ระดับเฉลี่ยความสูงของโครงหลังคา
การประมาณโดยอาศัยจ านวนต่อหน่วยการใช้สอย การประมาณ
แบบนี้ อาศัยหลักการที่ว่าต้นทุนของสิ่งก่อสร้างแปรตามจ านวนหน่วยการ
ใช้สอย เช่น จ านวนเตียงของโรงพยาบาล จ านวนเมกะวัตต์ของโรงผลิต
ไฟฟ้า จ านวนห้องของอพาตเมนต์ ฯลฯ
การประมาณโดยอาศัยจ านวนหน่วยการใช้สอย ท าได้โดยการคูณ
จ านวนหน่วยของตัวแปรหลัก
ด้วยต้นทุนต่อหน่วยของตัวแปรหลักนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาล ขนาด 200 เตียง
ถ้าต้นทุนค่าก่อสร้างโรงพยาบาลต่อหนึ่งเตียง = 500,000
บาท