Page 70 - ป้อมสนาม
P. 70

7-3




                2. การสร้างรั้วลวดกระโจมสูง ชนิด 4 และ 2 ก้าว

                      ยาวตอนละ   300   เมตร   หรือน้อยกว่าลวดกระโจมสูงมี 2 ชนิด   คือ  ชนิด 4  และ 2 ก้าว กับ 6 และ
               3 ก้าว ชนิดแรกเป็นเครื่องกีดขวางที่นับว่าดีกว่า และใช้กันมากกว่าชนิดหลัง  วางเสากลางให้ห่างกัน 4 ก้าว  เป็น
               ระยะ ๆ  และเสายึดห่างจากแนวเสากลาง 2 ก้าว  ตามที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 75 การสร้างลวดกระโจมสูงทั้งสองชนิด

               ยาวตอนละ 300 เมตร  เป็นงานของหมวด (36 คน) สร้างเสร็จใน 1 1/2 ชั่วโมง
                         การสร้างแบ่งงานเป็น 2 ชั้น  คือการกรุย  และปักเสา กับการขึงลวดหนาม  งานขั้นที่สอง  จะเริ่มเมื่อมี
               แรงงานเพียงพอ
                      2.1 งานชั้นแรก  แบ่งพนักงานออกเป็น   3  พวก ๆ  ละเท่า ๆ กันพวกที่หนึ่ง  กรุยต าบล  ปักเสายาวตาม

               แนวกึ่งกลางของรั้วห่างกัน 4 ก้าว ( 3 เมตร )  อีกพวกหนึ่งวางเสายึดห่างกัน  2  ก้าว (1.5 เมตร)  ทางด้านข้างทั้ง
               สองข้างจากแนวศูนย์กลาง   พวกที่สามปักเสาทั้งหมดโดยมีพวกที่หนึ่ง และพวกที่สองมาช่วยเมื่อพวกนั้นได้วางเสา
               เสร็จแล้ว

                      2.2 เมื่อพนักงานทั้งหมดปฏิบัติงานชั้นแรกเสร็จแล้วจึงเริ่มขึงลวดหนาม    การขึงจะต้องขึงตามล าดับที่ได้
               แสดงไว้ในรูป 34  แบ่งพนักงานออกเป็นพวก ๆ  ละ   2  หรือ  4  คน  และเริ่มขึงลวดหนามตามล าดับหมายเลข
               ดังต่อไปนี้
                              2.2.1 ลวดหนามหมายเลข   1 เป็นลวดหนามทแยงอยู่ด้านข้าศึก และพันติดกับตาบนของเสาทุก

               เสา หรือตรึงติดกับเสาใช้เสาแสวงเครื่อง
                              2.2.2  ลวดหนามหมายเลข  2    เป็นลวดสดุดทางด้านข้าศึก พันติดกับลวดทแยงหน้าทั้งสอง
               เส้นตรงเหนือใกล้หัวเสายึดติดกับลวดทแยงหน้า ควรพันให้ตึงและอยู่สูงเหนือพื้นดินเล็กน้อย

                              2.2.3 ลวดหนามหมายเลข 3 เป็นลวดด้านหน้าพันติดกับลวดทแยงหน้า
                (หมายเลข 1) พันเส้นเว้นเส้น และพันติดกับลวดทแยงเส้นสุดท้าย
                              2.2.4 ลวดหนามหมายเลข 4  เป็นลวดด้านหน้าทางด้านข้าศึก   พันติดกับหมายเลข  1 ยึดติดกับ
               ลวดหนามหมายเลข 3  ไม่ได้พันไว้  และพันติดกับลวดทแยงเส้นสุดท้าย

                              2.2.5 ลวดหนามหมายเลข 5 ไม่ได้เริ่มพันจากเสายึดตอนปลาย แต่เริ่มจากเสายาวต้นที่ 1 โดยพัน
               ติดกับตากลางหรือพันติดกับเสาถ้าใช้เสาแสวงเครื่อง
                              2.2.6 ลวดหนามหมายเลข 6, 7 และ 8 เป็นลวดแนวศูนย์กลางทั้งสิ้น   และพันติดกับเสาทุกต้น

               ลวดหนามเหล่านี้เป็นเสมือนกระดูกสันหลังของรั้วลวดหนาม
                              2.2.7 ลวดหนามหมายเลข 9      เป็นลวดหนามทแยงหลังทางด้านฝ่ายเราและพันติดกับเสาทุก
               ต้น  ลวดหนามหมายเลข  10  และ  11  เป็นลวดด้านหลัง และหมายเลข 12 เป็นลวดสะดุดทางด้านฝ่ายเรา ลวด
               หนามหมายเลข 12 พัน ติดกับเสาเช่นเดียวกับลวดหนามหมายเลข 2
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75