Page 54 - ป้อมสนาม
P. 54
5-3
รูปที่ 5.1 การระบายน้ าในระบบคู
4. การทรงตัวของดิน (Earth Retention)
โดยปกติผนังดินของที่มั่นย่อมเป็นลาดใหญ่กว่ามุมทรงตัวตามธรรมชาติของดิน และผนังดินนี้มักจะ
หลุดลุ่ยหรือกร่อนเข้าไปด้านในอย่างรวดเร็ว ในพื้นที่บางชนิดการหลุดลุ่ยจะเกิดขึ้นโดยทันทีทันใด แต่ดินบางอย่าง
อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงจะหลุดลุ่ยลง พื้นดินทั่ว ๆ ไปจะหลุดลุ่ยภายหลังการขุดประมาณ 1 หรือ 2 วัน ด้วย
เหตุดังกล่าวนี้เราจึงต้องท ากรุลาด ( Revetment ) หรือก าแพงกันดิน ( Retaining Wall ) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะ
เร็วได้ หลังจากขุดที่มั่นแล้ว
5. การกรุลาด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
5.1 แบบกรุผิวลาด (Surface or facing type)
คือการกรุลาดซึ่งต้องมีเครื่องค้ าจุน ส่วนใหญ่ ท าหน้าที่ปูองกันผิวหน้าจากการหลุดลุ่ย และการ
สึกกร่อนอันเกิดจากลมฟูาอากาศ และจากการเสียดสีหรือกระทบกระทั่งของผู้ที่อยู่ในคูหรือที่ตั้งอาวุธ ถ้าสร้าง
แข็งแรงแล้วมักจะปูองกันการหลุดลุ่ยและการพังลงมาได้
5.1.1 การกรุลาด ที่ดีจะต้องประกอบด้วย.-
- ไม่มีรายละเอียดยุ่งยาก
- เหมาะกับวัสดุที่มีอยู่
- ง่ายแก่การประกอบและการสร้าง
- ได้รับอันตรายจากสะเก็ดระเบิดของกระสุนปืนใหญ่น้อย
- ง่ายแก่การถอนตัวออกจากคูและทางออก