Page 115 - การดาดผิว
P. 115
7-23
เมื่อใช้ไม้บรรทัดวัดความเรียบวางทาบบนผิวของชั้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตในแนวตั้งฉากและ
ในแนวขนานกับแนวเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนระดับผิวของชั้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตภายใต้ไม้บรรทัดวัดความ
เรียบจะแตกต่างจากระดับของไม้บรรทัดวัดความเรียบได้ไม่เกิน 6 มิลลิเมตรและ 3 มิลลิเมตรตามลำดับ
6.3 ความแน่น( Density )
ก. เจาะกอนตัวอย่างตัวแทนของชั้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตในสนามที่กอสร้างเสร็จเรียบร้อยโดย
้
่
- ใช้เครื่องเจาะตัวอย่างที่ถูกต้องตามข้อ 3.8.4
- เจาะเก็บก้อนตัวอย่างจำนวน 1 ก้อนตัวอย่างทุกๆระยะทางประมาณ250 เมตรหรือทุกๆ
ส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่นำมาใช้งานประมาณ 100 ตัน
ข. ทดลองหาค่าความแน่นตามวิธีการทดลองที่ทล. – ท. 604/2517 “วิธีการทดลองแอสฟัลต์
คอนกรีตโดยวิธี Marshall”
ค. เปรียบเทียบค่าความแน่นของตัวอย่างชั้นทางแอสฟัลต์คอนกรีตกับคาความแน่นของตัวอย่างที่
่
บดอัดในห้องทดลองโดยคำนวณเป็นค่าความแน่นร้อยละของค่าความแน่นของตัวอย่างที่บดอัดใน
ห้องทดลองตามรายละเอียดดังนี้
- ชั้นผิวทางชั้นรองผิวทางและชั้นปรับระดับแอสฟัลต์คอนกรีตต้องมีความแน่นไม่น้อยกว่าร้อยละ
98 ของค่าความแน่นเฉลี่ยของก้อนตัวอย่างจากห้องทดลองที่ใช้เปรียบเทียบประจำวัน
- ชั้นพื้นทางต้องมีความแน่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 97 ของค่าความแน่นเฉลี่ยของก้อนตัวอย่างจาก
ห้องทดลองที่ใช้เปรียบเทียบประจำวัน
- ชั้นผิวไหล่ทางต้องมีความแน่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 96 ของค่าความแน่น
เฉลี่ยของก้อนตัวอย่างจากห้องทดลองที่ใช้เปรียบเทียบประจำวัน
6.4 ปริมาณแอสฟัลต์และขนาดคละของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีต
ทดลองหาปริมาณแอสฟัลต์และขนาดคละของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตของชั้นทางแอสฟัลต์
ี่
คอนกรีตในสนามทก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยโดย
- เจาะก้อนตัวอย่างตาม 4.6.3.2
- ทดลองหาปริมาณแอสฟัลต์และขนาดคละของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตโดยใช้เครื่อง
Centrifuge Extractor
้
7 ข้อแนะนำและขอเสนอแนะ
- สภาพผิวชั้นทางก่อนการปูส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตจะต้องแห้งห้ามปูส่วนผสม
แอสฟัลต์คอนกรีตขณะฝนตกหรือเมื่อผิวชั้นทางที่จะปูเปียกชื้น
- ใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับกำลังผลิตของโรงงานผสมและปัจจัยอื่นๆ
็
- ส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีลักษณะจับตัวเป็นก้อนแขงห้ามนำมาใช้
- อุณหภูมิของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตขณะปูไม่ควรคลาดเคลื่อนไปจากอุณหภูมิเมื่อออกจาก
โรงงานผสมเกินกว่า 14 องศาเซลเซียสและต้องไม่ต่ำกว่า 120 องศาเซลเซียส