Page 10 - Way&Airfield
P. 10
1-1
บทที่ 1
ระบบการขนส่ง
1. ระบบและประเภทของทางหลวง
ในประเทศไทยแบ่งทางหลวงออกเป็น 7 ประเภท ตามกฎหมายทางหลวง
1.1 ทางหลวงพิเศษ ( EXPRESS WAY )
ทางหลวงที่ได้ออกแบบให้การจราจรผ่านได้รวดเร็วเป็นพิเศษ มีการควบคุมทางแยก และ
ทางเชื่อมอย่างเต็มที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
1.2 ทางหลวงแผ่นดิน ( NATIONAL HIGHWAY )
เป็นทางหลวงที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคต่าง ๆ ระหว่างภาคหรือจังหวัด อยู่ในความ
รับผิดชองของกรมทางหลวงแบ่งเป็น
1.2.1 ทางหลวงแผ่นดินสายประธาน (PRIMARY HIGHWAY) ใช้ตัวย่อ P
ปัจจุบันมี 4 สายคือ หมายเลข 1 (พหลโยธิน) หมายเลข 2 (มิตรภาพ)
หมายเลข 3 (สุขุมวิท) หมายเลข 4 (เพชรเกษม) จากกรุงเทพฯ ไปยังภาคทั้งสี่ของประเทศ
1.2.2 ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน (SECONDARY HIGHWAY) ใช้ตัวย่อ S
หมายเลขทางมักเป็นเลข 2 หรือ 3 ตัว
1.3 ทางหลวงจังหวัด ( PROVINCIAL HIGHWAY )
ได้แก่ทางหลวงที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับจังหวัด จังหวัดกับอําเภอ,อําเภอกับอําเภอ หรือ
แยกจากทางหลวงแผ่นดินไปยังจังหวัดหรืออําเภอ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ใช้ตัวย่อ F
1.4 ทางหลวงชนบท ( RURAL ROADS )
เป็นทางหลวงที่เชื่อมระหว่าง อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน อยู่ในความรับผิดชอบของ
กรมโยธาธิการ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.5 ทางหลวงเทศบาล ( MUNICIPAL ROADS )
เป็นทางหลวงภายในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของ เทศบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้อนุมัติ
1.6 ทางหลวงสุขาภิบาล(COMMUNITY ROADS )
ได้แก่ทางหลวงที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของสุขาภิบาลนั้น ๆ
1.7 ทางหลวงสัมปทาน ( CONCESSION ROADS )
ได้แก่ทางหลวงที่รัฐยินยอมให้เอกชนเป็นผู้จัดสร้าง ดูแล บํารุงรักษา เพื่อประโยชน์ของ
เอกชนนั้น หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยรัฐยินยอมให้เอกชนนั้น เก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไข
ของการสัมปทานตามที่ตกลงกันไว้