Page 18 - Soil_Eng
P. 18

3-1


                                                           บทที่ 3

                                               การวิเคราะหขนาดของเม็ดดิน


                    1. คําจํากัดความ
                          การวิเคราะหขนาดของเม็ดดิน  (Grain  Size  Analysis)  เปนการทดลองเพื่อหาวาในมวลดินมีเม็ด

                    ดินแตละขนาดอยางละเทาใด และ เม็ดดินมีการกระจายขนาดหรือลําดับขนาดเปนอยางไร
                          การวิเคราะหขนาดของเม็ดดินทําได 2 วิธี คือ

                          1.1 วิธีรอนผานตะแกรง (Sieve Analysis) เปนการทดลองเพื่อหาวา

                                         - มี กรวด (Gravel) ทราย (Sand) และ เม็ดละเอียด (Fine) อยางละกี่ % โดยน้ําหนัก

                                         - เม็ดดินมีการจัดลําดับขนาดกันอยางไร (ดี หรือ เลว)

                          1.2 วิธีตกตะกอน (Hydrometer Analysis) เปนการทดลองเพื่อหาวา
                                 - มี ดินตะกอน (Silt) และ ดินเหนียว (Clay) อยางละกี่ % โดยน้ําหนัก

                    2. การวิเคราะหโดยวิธีรอนผานตะแกรง (Sieve Analysis)

                          วิธีนี้เหมาะสําหรับพวกดินเม็ดหยาบ เชน กรวด ทราย เปนตน การวิเคราะหขนาดของเม็ดดินโดยวิธี

                    รอนผานตะแกรง เปนการนําดินตัวอยางแหงมารอนผานตะแกรงที่จัดไวเปนชุดๆ เพื่อ
                                 - หา %โดยน้ําหนักของ G S F
                                 - หาการกระจายขนาด (ลําดับขนาด) จาก กราฟการกระจายขนาดของเม็ดดิน ซึ่งเปน

                    กราฟความสัมพันธระหวาง
                                 - แกนนอน: ขนาดของเม็ดดิน (ขนาดตะแกรง) กับ

                                 - แกนตั้ง: %ผานตะแกรงโดยน้ําหนักของมวลดิน
                          การวิเคราะหขนาดของเม็ดดินโดยวิธีรอนผานตะแกรงทําได 2 แบบ คือ

                          2.1 การทดลองแบบไมลางน้ํา หรือ แบบแหง (Dry Process)

                                 ใชกับดินที่ไมมีพวก Cohesive หรือถามีก็มีในปริมาณนอย มวลดินไมจับกันเปนกอน งายแก
                    การทําใหแยกจากกัน


                          2.2 การทดลองแบบลางน้ํา (Pre-Washed Process)
                                 ใชกับดินที่มีดินพวก Cohesive มวลดินจะจับกันเปนกอนยากแกการทําใหแยกจากกัน จึงใช
                    วิธีลางสวนที่เปนเม็ดละเอียดใหผานตะแกรงเบอร 200 ทิ้งไป แลวนําดินสวนที่เหลือมาทดลอง


                          2.3 เครื่องมือทดลอง SIEVE ANALYSIS
                          เครื่องมือทดลอง ประกอบดวย
                                 - ตะแกรงขนาดตางๆ ที่จัดไวเปนชุด

                                 - เครื่องเขยาตะแกรง (Sieve Shaker)

                                 - เครื่องชั่ง อานไดละเอียด 0.1 กรัม
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23