Page 49 - Soil
P. 49
4-10
การใชการทดลองใหตกตะกอนที่สําคัญที่สุด คือใชแยกดินสวนที่หยาบ(โตกวา 0.06 มม.)จากสวน
ละเอียดเพราะวาอนุภาคของดินที่ใหญกวา 0.06 มม. จะตกตะกอนใน 30 วินาที หลังจากกวนตัวอยางแลว
ฉะนั้นอนุภาคที่ยังคงแขวนลอยอยูก็เปนอนุภาคละเอียด ถาเทน้ําที่มีอนุภาคละเอียดแขวนลอยอยูไปใสภาชนะ
อื่นหลังจากกวนตัวอยางแลว 30 วินาที เติมน้ําลงไปในภาชนะเดิมทําซ้ําๆ จนสวนผสมระหวางน้ําและดินน้ํา
ใสภายใน 30 วินาที ภาชนะเดิมจะมีแตสวนที่หยาบแตภาชนะใหม จะมีแตอนุภาคละเอียด ถาทําใหระเหยได
ก็จะประมาณความสัมพันธของอนุภาคละเอียดและหยาบไดคอนขางแมนยํา การทดลองเพื่อพิจารณาในสนาม
สวนมากทํากับสวนที่ผานตะแกรงหมายเลข 40 อาจแยกสวนนี้ออกไดโดยวิธีคลายๆ กันที่กลาวมาแลวขางบน
เมื่อเทน้ําออกไป 1 หรือ 2 วินาที หลังจากกวนจนทั่วแลว สวนที่แขวนลอยอยูจะมีอนุภาคใหญไมเกิน
ยานทรายละเอียดเทานั้น
16.2 การทดลองทําใหแหง
หมายถึงความแข็งแรงของตัวอยางดินเปยก เมื่อทําใหแหงในมือแลวใชเปนเครื่องชี้บอกชนิดและ
ปริมาณของอนุภาคละเอียดในตัวอยาง อยางหยาบๆ การทดสอบประกอบดวยการขยําดินชื้นเต็มกํามือใหเปน
ลูกกลมหรือแทงแลวสังเกตความสามารถทนตอการจับถือโดยไมแตกโดยถือเกณฑดังนี้
ชนิดของดิน ผลของการจับถือ
- GP, SP, SW, GW - แทงดินแตกเมื่อสัมผัส
- SM, SC - แทงดินทนการจับถือที่ระมัดระวังได
- ML, MH - จับถือแทงดินไดอยางสบาย
-CL, CH - ทนตอการจับถืออยางไมปราณีปราสัย
16.3 การทดลองลาง ดูฝุน และปายดู
ดินตะกอนจํานวนนอย (นอยกวา 5 %) เมื่อผสมกับเม็ดหยาบจะไมทําใหลักษณะของดินในฐานะวัสดุ
กอสรางลดลง แตเมื่อดินตะกอนเพิ่มขึ้น ทําใหความแข็งแรงรวมของดินลดลงและขัดขวางการระบายน้ําอยาง
เสรีของเม็ดหยาบดวย จึงทําใหเปนสิ่งที่ไมตองการในการทดลองดวยวิธีลาง , ดูฝุน และปายดู ตองอาศัยทักษะ
และความชํานาญของผูทดลอง
เมื่อทิ้งตัวอยางดินแหงจากระยะสูง 1 - 2 ฟุต บนผิวพื้นแข็ง ถาดินตัวอยางนี้มีตะกอนปนอยูเกิน 10%
จะทําใหเกิดฝุนมากมาย เมื่อตัวอยางเดียวกันนี้เติมน้ําใหทวมประมาณ 1/8 นิ้ว และถาน้ําเปลี่ยนสีเปนฝุนมอง
ไมเห็นเม็ดทราย แสดงวาดินตัวอยางมีดินตะกอนเกินกวา 4% เมื่อปายตัวอยางที่เอากรวดออกแลว ความชื้น
ต่ํากวาขีดติดมือเล็กนอย ระหวางนิ้วหัวแมมือกับนิ้วชี้ ถารูสึกสากหยาบมาก แสดงวามีดินตะกอนนอยกวา
10% ถาสากนอยกวาแสดงวาตัวอยางมีดินตะกอนมากกวา 10%