Page 32 - แผนที่เข็มทิศ
P. 32
3 - 9
5. การอ่านค่าพิกัดกริด
คงอ่านเช่นเดียวกับแผนที่ คือ อ่านจากซ้ายไปขวา จากลํ่างขึ้นบน (READ RIGHT UP )
การใช้พิกัดกริดก าหนดต าแหน่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ.-
5.1 อักษรแสดงภาพถ่ายทางอากาศ เช่น “ PDG ”
5.2 หมายเลขฟิล์มถ่ายรูปและภารกิจ เช่น “1373MCS-M97-51”
5.3 หมู่ตัวเลข 6 ตัว แสดงที่ตั้งที่แท้จริงของภาพถ่าย เช่น “485511”
ตัวอย่าง การเขียนค่าพิกัดกริดของภาพถ่าย
( PDG 1373MCS-M97-51 485511 )
6. การมองเห็นภาพทรวดทรง
6.1 ข้อจ ากัดของภาพถ่าย ประเภทหนึ่งคือ จะมองไม่เห็นภาพทรวดทรงเลย การจะมองให้เห็น
ภาพทรวดทรงได้ ต้องมีภาพของวัตถุสองภาพ มองจากต าแหน่งที่อยู่ห่างกันเล็กน้อย
6.2 การถ่ายภาพทางอากาศ มักท าการถ่ายภาพ บริเวณเดียวกันหลาย ๆ ภาพ ให้ทาบทับกัน
ในทิศทางด้านบน (OVERLAP) 56 % และทาบทับกันในทางด้านข้าง ( SIDELAP ) ระหว่าง 15 - 20 %
6.3 ความต้องการในการมองเห็นภาพทรวดทรง ต้องใช้เครื่องช่วยในการมองซึ่งเรียกว่า
“ สเตอรีโอสโคป ” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 2 แบบ คือ.-
6.3.1 สเตอรีโอสโคปแบบติดกระเป๋ า (POCKET STEREOSCOPE)ประกอบด้วย
เล็นซ์ขยาย 2 อัน ติดไว้ในกรอบโลหะ นิยมใช้มากทางทหารและน าติดตัวไปได้ง่าย
6.3.2 สเตอรีโอสโคปแบบกล้องส่อง ( MIRROR STEREOSCOPE )
มีขนาดใหญ่กว่า, หนักกว่า และ เสียหายได้ง่ายกว่าแบบติดกระเป๋ า ประกอบด้วยกระจกเงา 4 แผ่น
ติดตั้งอยู่ในกรอบโลหะ
6.4 การใช้สเตอรีโอสโคป (ให้ได้ผล)
6.4.1 จัดภาพถ่ายต่าง ๆ ให้เรียงตามล าดับที่ถ่ายท ามา
6.4.2 เลือกภาพถ่ายคู่ ที่ใช้อ่านทรวดทรงที่ครอบคลุมพื้นที่ ที่จะท าการพิจารณา
6.4.3 วางภาพถ่ายแผ่นหนึ่ง ทับลงบนภาพถ่ายอีกแผ่นหนึ่ง และให้รายละเอียดทับ
กันอย่างสนิท
6.4.4 วางสเตอรีโอสโคปลงบนภาพถ่าย (เล็นซ์ซ้ายอยู่บนแผนซ้าย เล็นซ์ขวาอยู่บน
แผ่นขวา)
6.4.5 แยกภาพทั้งสองออกจากกัน ไปตามทิศทางบิน จนกว่ารายละเอียดจะไปอยู่ใต้
เล็นซ์ทั้งสองโดยตรง
6.4.6 เมื่อภาพถ่ายและสเตอรีโอสโคป อยู่ในต าแหน่งดังกล่าว ก็ควรจะเห็นภาพ
เป็นรูปสามมิติ เนินต่าง ๆ จะสูงขึ้นมา หุบเขาจะลึกลงไป