Page 17 - HeavyEquipments
P. 17
1-10
1.2.1.2.4 ปัจจัยประสิทธิภาพของเครื่องมือ/พลประจํา (EQUIPMENT
OPERATOR EFFICIENCY CORRECTION FACTOR)
เครื่องมือหรือพลประจําต่างก็ไม่สามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
100% เต็ม ดังนั้นการประมาณการจึงต้องปรับแก้ด้วยปัจจัยประสิทธิภาพของเครื่องมือ/พลประจํา ค่าปัจจัยจะ
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชํานาญของพลประจําและสภาพของเครื่องมือ ตลอดจนสภาพพื้นที่
ปฏิบัติงาน ค่าปัจจัยหาได้จากตารางที่ 1.3
1.2.1.2.5 ค่าปัจจัยจากเทคนิควิธีการทํางาน (MANAGEMENT TECHNIQUE
FACTOR)
เทคนิคในการทํางานบางประการ จะทําให้เพิ่มผลงานของรถถากถางได้
เทคนิคการปฏิบัติงานดังกล่าวมี 2 วิธี คือ การดันเป็นร่อง (คันเดียว) (SLOT DOZING) และการดันเคียงกัน
(สองคัน) (BUDDY DOZING) สําหรับวิธีดันแบบเคียงกันนั้น ผู้ควบคุมควรคํานึงถึงเหตุผล 2 ประการ คือ
สมรรถนะของเครื่องมือความชํานาญของพลประจําว่ารถถากถางหรือพลประจําทั้ง 2 อย่างนั้นเท่ากัน
หรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันควรใช้วิธีอื่น ปัจจัยเทคนิควิธีการทํางานหาได้จากตารางที่ 1.7
รูปที่ 1.5 ลักษณะการดันวัสดุ
1.2.1.2.6 การประมาณหาผลงานของรถถากถางล้อสายพาน
ผลงานของรถถากถางในเวลา 1 ชม.หาได้ ดังนี้
สูตร
ผลงานที่แท้จริงของรถถากถาง/ชม. = ผลงานสูงสุดในการดันวัสดุ/ชม. x ปัจจัยปรับแก้
(1.2.1.2.1 – 1.2.1.2.5)
1.2.1.2.7 การแปลงสภาพวัสดุ (MATERIAL CONVERSION FACTOR)
โดยปกติผลงานของรถถากถางที่ออกมาจะมีสภาพเป็นวัสดุตัวหลวม
(LOOSE) แต่ถ้าต้องการให้เป็นสภาพอย่างอื่น เช่นสภาพวัสดุในที่ (IN PLACE) หรือเป็นสภาพวัสดุถูก บดทับ
(COMPACTED) ก็สามารถทําได้โดยแปลงสภาพวัสดุที่ทําได้ โดยใช้ตารางที่ 1.8 ซึ่งเป็นตาราง ค่า
เปลี่ยนแปลงสภาพของวัสดุ
1.2.1.2.8 เวลาปฏิบัติงานที่ต้องการ (TOTAL TIME REQUIRED)