Page 16 - HeavyEquipments
P. 16

1-9


                    (2,300 ปอนด์/ลบ.หลา วัสดุหลวมตัว) ลาดการทํางาน 0 % (ทางระดับ) ปัจจัยอื่นไม่มีและถือเอาน้ําหนักของ

                    วัสดุในการทดลองหนัก 1,790 กก./ลบ.ม. วัสดุในที่ (3,000 ปอนด์/ลบ.หลา วัสดุในที่) ลาดการทํางาน  0%
                    (ทางระดับ) ปัจจัยอื่นไม่มี แต่ในความเป็นจริงในการปฏิบัติงานนั้นจะต้องมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

                    ดังนั้นผลงานที่ได้เมื่อมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาปรับแก้ ก็คือ ผลงานที่แท้จริงที่รถถากถางสามารถทําได้ใน 1 ชม.
                                 1.2.1.2 ปัจจัยปรับแก้ (CORRECTION FACTOR)

                                        1.2.1.2.1 ปัจจัยปรับแก้จากลาด (GRADE CORRECTION FACTOR)
                                               ลาดเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลต่อผลงานของรถถากถาง ทั้งลดและเพิ่ม

                    ผลงาน ลาดขึ้น (ลาด +) จะมีผลมากน้อยขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ลาด ผลงานจะลดลงอย่างมากหากเปอร์เซ็นต์
                    ลาดมาก ส่วนลาดลง (ลาด -) จะมีผลในทางเพิ่มผลงานให้กับรถถากถางล้อสายพาน ค่าปัจจัยปรับแก้หาได้จาก

                    ตารางที่ 1.5
                                        1.2.1.2.2 ปัจจัยปรับแก้จากน้ําหนักวัสดุ (MATERIAL WEIGHT CORRECTION

                    FACTOR)
                                               ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นที่ว่าผลงานสูงสุดของรถถากถางในตารางที่ 1.4
                    ได้จากการทดลอง ซึ่งน้ําหนักของวัสดุหลวมตัวจะหนัก 1,370 กก./ลบ.เมตร (2,300 ปอนด์/ลบ.หลาวัสดุ

                    หลวมตัว) แต่ความเป็นจริงในพื้นที่การปฏิบัติงานจริง ๆ นั้น น้ําหนักของวัสดุจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่แน่นอน
                    เหมือนกับน้ําหนักของวัสดุขณะทดลอง จึงใช้สูตรหาค่าปัจจัยปรับแก้น้ําหนักของวัสดุในแต่ละแห่ง     ดังนี้.-

                                                            1,370กก.ลบ .เมตรวัสด หลวมตัวุ
                    ปัจจัยปรับแก้น้ําหนักวัสดุ (วัสดุหลวมตัว) =
                                                         นํ้าหนักท แท้จริงกก.ี่  /ลบ.ม.วัสด ◌ุหลวมตั

                                                            1,790กก./ล บ.เมตรวัสด ◌ุในที่
                    ปัจจัยปรับแก้น้ําหนักวัสดุ (วัสดุในที่)  =
                                                         นํ้าหนักท แท้จริงกก.ี่  /ลบ.ม.วัสด ◌ุในที
                          หมายเหตุ น้ําหนักที่แท้จริงของวัสดุนั้น ถ้าจะให้แน่นอนและถูกต้อง ควรทําการทดสอบโดยวิธีนําวัสดุ
                    ในพื้นที่มาชั่ง ได้น้ําหนักเท่าใดก็คือ น้ําหนักดินที่แท้จริงเพื่อนําไปหาค่าปัจจัยจากสูตร ในกรณีศึกษาหากโจทย์

                    กําหนดชนิดของวัสดุ หาได้จากตารางที่ 1.9
                          มาตราการแปลงหน่วย

                          1 ฟุต         =      0.3048       เมตร
                          1 กก.         =      2.205        ปอนด์
                          1 ลบ.เมตร     =      1.308        ลบ.หลา

                                        1.2.1.2.3 ปัจจัยปรับแก้เกี่ยวกับประเภทของวัสดุ (MATERIAL TYPE CORRECTION

                    FACTOR)
                                               สภาพของวัสดุในพื้นที่ปฏิบัติงานที่ไม่เหมือนกัน   อาจทําให้ผลงานของ
                    รถถากถาง ล้อสายพานเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ สภาพของวัสดุที่หลวมตัวไม่อัดแน่นการขุดหรือดันจะง่าย สภาพ

                    วัสดุที่อัดแน่น การขุดหรือดันจะยาก หรือต้องหาวิธีการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มผลงานให้ได้มากยิ่งขึ้น ค่าปัจจัยประเภท
                    วัสดุหาได้จากตารางที่ 1.6
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21