Page 19 - ป้อมสนาม
P. 19

3-3


                      4.2 เครื่องกีดขวางจะต้องเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ ทั้งการรุก และรับ (Tied in with Elements of
               the Offense and Defense)
                                หลักการส าคัญข้อนี้มักจะถูกมองข้ามไปบ่อย ๆ "ค าว่า การเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ  ของการรุก
               และตั้งรับนั้น "  หมายความว่าอย่างไร ?  ค านี้จะมีความหมายสองประการคือ

                              4.2.1 จะต้องมั่นใจว่าเครื่องกีดขวางที่ใช้นั้นเหมาะสมกับแผนส่วนรวมของผู้บังคับบัญชา  และ
               ต้องมั่นใจว่าเครื่องกีดขวางเหล่านั้น      มีความมุ่งหมายโดยเฉพาะที่จะท าให้เกิดผลส าเร็จ ต่อแผนของส่วนรวม
                                4.2.2 ต้องมั่นใจว่าหน่วยข้างเคียง ทางปีกซ้าย-ปีกขวา หน่วยข้างหน้า-หน่วยข้างหลังของท่าน
               ทราบที่ตั้ง ความมุ่งหมาย  และแบบของเครื่องกีดขวางที่ใช้   เมื่อจะเริ่มสร้างเครื่องกีดขวางจะใช้    เครื่องกีด

               ขวางอะไร ? ใครเป็นผู้คุ้มครอง และคุ้มครองนานเท่าใด ถ้าทุกคนทุกหน่วยทราบสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว เครื่องกีด
               ขวาง ที่ท่านจะใช้ก็จะได้ประโยชน์สมความมุ่งหมายมากขึ้น
               5. การป้องกันเครื่องกีดขวาง
                      เครื่องกีดขวางทุกชนิดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด  จ าเป็นต้องคุ้มครองด้วยอ านายการยิงเพื่อมิให้

               ท าลายหรือรื้อถอน  โดยใช้ ปก ., ปตถ. ฯลฯ  ตามธรรมดาเป็นหน้าที่ของหน่วยทหารที่ยึดพื้นที่นั้นหรือทหารที่
               ได้รับมอบหน้าที่ท าการคุ้มครองป้องกัน ซึ่งมีความ  คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่มีอาวุธยิงฉกรรจ์ มีการ
               ติดต่อสื่อสารดีพอ

                      ทหารช่างสนามที่ได้สร้างเครื่องกีดขวางขึ้นเฉพาะแห่ง  และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจะต้องคุ้มครอง
               เครื่องกีดขวางนั้น ๆ ไว้ก่อน แล้วจึงมอบให้ทหารเหล่าอื่นรับหน้าที่คุ้มครองแทนทหารช่าง เพื่อให้ทหารช่  าง
               ปฏิบัติงานอื่น  ๆ ต่อไป

               6. ลักษณะที่ตั้งอาวุธเพื่อคุ้มครองเครื่องกีดขวาง

                      6.1 ต าบลที่ตั้ง  ปก., ปตถ. และยามเฝ้าเครื่องกีดขวาง      จะต้องมีการพรางและสามารถคุ้มครอง
               เครื่องกีดขวางการยิงตั้งแต่ระยะใกล้จนถึงระยะปานกลาง
                       6.2 ต าบลที่ตั้งของพลปืนเล็กอยู่ข้างหน้าที่ตั้ง ก.     และ   ปตถ.   พลปืนเล็กท าหน้าที่คุ้มครอง

               เครื่องกีดขวางด้วยการยิงและป้องกันมิให้ที่ตั้งอาวุธกลถูกจู่โจม  โดยแจ้งการเข้ามาของข้าศึกโดยด่วน
                      6.3 ต าบลที่ตั้ง ปก.30 และ ปก. 50  ควรอยู่ห่างจากเครื่องกีดขวางประมาณ 300  - 600 ม. มีพนที่
                                                                                                        ื้
               การยิงรุนแรงและตรวจการณ์เห็นเครื่องกีดขวางได้ทั้งกลางวัน  และกลางคืน หรือเมื่อทัศนวิสัยเลว
                      6.4 ต าบลที่ตั้ง คจตถ.ควรอยู่ห่างจากเครื่องกีดขวางประมาณ 100 - 200 ม.

                      6.5 ต าบลที่ตั้งอาวุธหลายขนาด ควรห่างกันไม่ใกล้กว่า  40 ม. เพื่อมิให้เป็นอันตรายร่วมกันและควรมี
               ที่ตั้งส ารองของอาวุธแต่ละชนิดไว้ด้วย

               7. ความรับผิดชอบของทหารช่างในการสร้างเครื่องกีดขวาง
                      หน่วยรบ   ผบ . หน่วยที่ยึดพื้นที่นั้นต้องรับผิดชอบในการสร้างเครื่องกีดขวาง  เพื่อป้องกันตนในระยะ
               ประชิด และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่หน่วยของตน

                       หน่วยทหารช่าง  หน่วยทหารช่างรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                              7.1 ให้ค าแนะน าทางเทคนิคและก ากับดูแลการก่อสร้าง
                              7.2 ก าหนดต าบลที่ตั้งของเครื่องกีดขวาง

                              7.3 สร้างเครื่องกีดขวางเฉพาะอย่างคือ
                                     - ต้องการความช านาญ และต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้พิเศษ
                                     - ป้องกันปีกเปิด ป้องกันข้างหลัง
                                     - ต้องเตรียมจัดสร้างให้เสร็จก่อนหน่วยทหารอื่น ๆ ที่ยึดพื้นที่นั้นมาถึง
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24