Page 60 - WaterSupply
P. 60
6-1
บทที่ 6
ชุดประปาสนาม
1. กล่าวน า
เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงความเป็นมาของชุดประปาสนาม แบบต่าง ๆ ที่เคยประจ าการอยู่กับหน่วย
ทหารช่าง ทั้งในอดีตและปัจจุบันพอสังเขป กับทั้งเป็นการระลึกถึงพระคุณของปรมาจารย์ทางด้านการ
ประปาสนามในอดีตที่ได้วางรากฐานไว้จนเจริญก้าวหน้าตราบทุกวันนี้
2. ด าเนินความ
ก่อนที่จะกล่าวถึงการประปาสนามของทหารช่างไทย จะต้องกล่าวถึงการประปาสนามของทหารช่าง
สหรัฐ ฯ เสียก่อน ดังนี้.-
2.1 การประปาสนามของทหารช่างสหรัฐ ฯ ในอดีต
เครื่องกรองน้ าแบบไดอาโทไมท์นี้ ญี่ปุ่นเป็นผู้น ามาใช้ในกองทัพก่อน ต่อมา สหรัฐ ฯ จึงน ามา
ดัดแปลงและพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากยิ่งขึ้นเพราะสหรัฐฯ ถือว่า "น้ า
"มีความจ าเป็นส าหรับหน่วยทหารอย่างมากมายมหาศาล ถ้าทหารขาดน้ า การรบย่อมพ่ายแพ้ได้
2.2 ชุดประปาสนามของ สหรัฐ ฯ ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ทหารช่าง สหรัฐ ฯ มีชุดประปาสนามในประจ าการดังนี้.-
2.2.1 ชุดหมายเลข 1 เป็นชุดเล็กสุดให้ใช้กับหน่วยขนาดย่อม มีความสามารถและ
ส่วนประกอบที่ส าคัญดังนี้.-
- ถังผ้าใบชนิดแขวนจุถังละ 36 แกลลอน 2 ถัง
- เครื่องกรองน้ าแบบใช้มือกด 1 เครื่อง
- ไม่ใช้สารกรองแต่ใช้แผ่นกรอง (กระดาษ) และกรองแบบติดผิว
- สารเคมี คงใช้จ าพวกสารท าลายเชื้อโรคเป็นหลัก (สื่อชักตะกอนใช้บ้าง)
- ความสามารถ กรองน้ าได้ นาทีละ 1/4 แกลลอน
- เวลาเคลื่อนย้ายใช้ติดตัวทหาร
2.2.2 ชุดหมายเลข 2 เป็นชุดที่ใช้ประจ าโรงพยาบาลหรือหน่วยเคลื่อนที่เร็วมีความ สามารถ
และส่วนประกอบส าคัญ ดังนี้.-
- ผ้าใบอาบยางจุ 500 แกลลอน 3 ถัง
- เครื่องกรองน้ าใช้ระบบไฟฟ้า กรองน้ าได้ 420 แกลลอน/ชม. 1 ชุด
- ใช้เครื่องไฟฟ้าเครื่องยนต์เบนซิน 3 กว. 1 เครื่อง
- เครื่องสูบน้ าเครื่องยนต์เบนซิน ทางเข้า - ออก 1 1/2" 1 เครื่อง
- ติดตั้งอยู่บน รถพ่วง 1 1/2 ตัน 1
คัน
- เคลื่อนย้ายโดยใช้ รยบ. 2 1/2 ตันลาก หรือใช้ ฮ. หิ้ว
- ภายหลังเปลี่ยนเป็น ชุด 600 แกลลอน/ชม. ส่วนประกอบคงเดิม
2.2.3 ชุดหมายเลข 3 เป็นชุดของกองร้อยทหารช่างในการสนับสนุนกรมทหารราบ มี
ความสามารถและส่วนประกอบที่ส าคัญ ดังนี้.-
- สามารกรองน้ าได้ชั่วโมงละ 3,000 แกลลอน (3,000 แกลลอน/ชม.)